วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิธีการปลูกมะเขือเทศ

                     ในฤดุหนาวสามารถปลูกมะเขือเทศได้ง่ายที่สุด แต่การบริโภคมะเขือเทศไม่ได้ถูกจำกัดเพียงฤดูเดียวดั้งนั้นจึงมีความพยายามปลูกมะเขือเทศนอกฤดูในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนซึ่งปัญหาที่สำคัญคือ อุณหภูมิสูงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม เมษายน และ พฤษภาคม ทำให้ดอกมะเขือเทศร่วง  ไปไม่ติดผลแต่เนื่องจากราคาผลผลิตใน ช่วงปลายฤดูร้อนสามารถทำได้หลายวิธี
1.ปลูกมะเขือเทศบนภูเขาสูงกว่าปกติบนถุเขาสุงจะมีอุณหภุมิตำกว่าในพื้นราบ จึงมีการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูกันมาก เช่น ที่เชียงราย เพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่บนภูเขาสูงมักมีปัญหาแหล่งน้ำจำกัด อาจใช้ปลูกมะเขือเทศได้ไม่ตลอดฤดูปลูก จึงต้องเลือกแหล่งที่มี น้ำสมบูรณ์จริงๆ


2. ใช้พันธุ์ทนร้อนร่วมกับการจัดการที่ดี  พันธุ์มะเขือเทศทั่วไปจะไม่สามารถถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียศ แต่พันธุ์ทนร้อนสามารถติดผลได้แม้ว่าอุณหภูมิกลางสูงกว่า 23 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดีถ้าอุณหภูมิกลางสูงเกินกว่า 35 องศาเซลเซียส ก็ทำให้มะเขือพันธุ์ทนร้อนติดผลได้ยาก การปลูกมะเขือเทศในฤดูร้อนนอกจากจะใช้พันธุ์ทนร้อนแล้วจะต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาอย่างประณีต โดยเฉพาะการให้น้ำ ทั้งนี้เมื่ออากาศร้อนและแห้งต้นมะเขือเทศต้องการน้ำมากกว่าในฤดูปลูกปกติ 2 เท่า และการระเหย น้ำจากดินเป็นนไปอย่างรวดเร็ว ดั้งนั้นจึงต้องมมีการให้น้ำบ่อยครั้งขึ้น ถ้าเป็นการให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอยควรให้ทุกวันตอนเช้าเพื่อให้ดินและอากาศรอบๆแปลงปลูก มีความชื่นพอเพียง และเป็นการลดอุณหภูมิลงด้วย

พันธุ์
แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. พันธุ์สำหรับปลูกขายตลาดสด ซึ่งแบ่งออกได้ตามขานดผลและการใช้ควรมีลักษณะดังนี้
1.1 พันธุ์ผลโต นิยมใช้ทำสลัดและประดับจานอาหาร เช่น พันธุ์ฟลอราเดล และมาสเตอร์เบอร์ 3 เป็นต้น
มีลักษณะ ดังนี้คือ
- มีผลทรงกลมแบบแอปเปิล
- มีผลเขียว สุกแดงจัด
- มีจำนวนช่องในผลมาก
- รสดี เนื้อหนาแข็ง เปลือกไม่เหนียว
1.2 พันธุ์ลูกเล็ก นิยมใช้ประกอบอาหารพื้นบ้าน ได้แก่ พันธุ์สีดา ห้างฉัตร มีลักษณะดังนี้
-  ผลเล็ก
-  สีชมพู นิยมมากกว่าแดง
-  รสเปรี้ยว ไม่ขืน
2. พันธุ์สำหรับส่วโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ วี เอฟ 134-1-2 พี 502  พี 600 เป็นต้น ควรมีลักษระดังนี้
2.1 เป็นพันธุ์ที่สุกพร้อมกันขนาดใหญ่
2.2 ขั้วผลควรหลุดออกจากผลง่ายเมื่อปลิดผล
2.3 ผลสุกมีสีแดงจัดตลอดผล




การพรวนดินและกลบโคนต้น
                         เมื่อต้นกล้าตั้งตรงได้แล้วควรพรวนดินกลบโคนต้น โดยเปิดเป็นร่องระหว่างแถว เพื่อให้การให้น้ำทำได้สะดวก น้ำไม่ขัง และทำให้รากมะเขือเทศใหญ่มากขึ้น และการพรวนดินกลบโคนก็เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วย หลังจากพรวนดินกลบโคนครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นอีก 1 เดือนให้ทำการกลบโคนอีกครั้ง
การปักค้าง
                       พันธุ์ที่ทอดยอดหรือพันธุ์เลื่อยจำเป็นต้องมีการปักค้างโดยใช้ไม่หลักปักต้นก่อนระยะออกดอก โดยใช้เชือกผูกระหว่างลำต้นให้ไขว้กันเป็นเลข 8 และผูกเงื่อนกระตุกกับค้างเพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดี  สะดวกต่อการดูแลรักษา ฉีดสารป้องกันแมลงได้ทั่วถึงผลไม่สัมผัสดิน ทำให้ผลสะอาดและสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว

ที่มา:สู่สายใยเศรษฐกิจพอเพียง ต.นาคู อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น